1. 【ส่งไว ไม่ต้องรอ】 9 นิ้ว วงจรสี ทฤษฎีสี การใช้สีเฉดสี แพนโทน ชาร์ตสี NoBrand
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 นิ้ว เป็นทฤษฎีการใช้สีแบบเฉดสีโทนสีเดียวกัน การใช้โทนสีตรงข้าม การหักล้างสี รุ่นนี้จะไม่เหมือนอีกรุ่นที่ขายนะคะ ไม่มีทฤษฎีการผสมสีแม่สีต่างๆ เป็นการเฉดดิ้งสีและโทนสีเท่านั้นมีสองด้านค่ะ ด้านหนึ่งเป็นการเฉดสีสีเข้ม อีกด้านหนึ่งเป็นการเฉดสีสีอ่อน การเลือกชุดสีเพื่อใช้ในงานออกแบบ (Color Combinations) ในการเลือกชุดสีเพื่อนําไปใช้ในการออกแบบนั้นมักใช้ 2-4 สี และไม่ควรใช้จํานวนสีที่มากเกินไปกว่านี้ หลักการในการจับคู่สีมี 6 รูปแบบดังนี้ Complementary: สีคู่ตรงข้าม คือสีที่อยู่ด้านตรงข้ามของวงล้อสี หนึ่งสีมักเป็นสีขั้นที่ 1 และอีกหนึ่งสีมักเป็นสีขั้นที่ 2 เช่น คู่สีน้ําเงิน-สีส้ม สีแดง-สีเขียว และ สีเหลือง-สีม่วง Split-Complementary: สีตรงกันข้ามเยื้อง มีลักษณะคล้ายกับคู่สีตรงข้าม เพียงแต่เป็นสีที่เยื้องไปเล็กน้อย ดังนั้นชุดสีนี้จึงอาจมี 2 หรือ 3 สี เช่น สีเหลืองคู่กับม่วงฟ้าและม่วงแดง Triadic: ชุดสีสามเหลี่ยม คือชุดสีที่ประกอบด้วย 3 สี ซึ่งเทคนิคการเลือกสีคือใช้สามเหลี่ยมด้านเท่ามาทาบลงบนวงล้อสี Analogous: สีข้างเคียง คือกลุ่มของสีจํานวนสามหรือสี่สีที่ติดกันภายในวงล้อสี โดยที่ชุดสีนี้จะมีความกลมกลืนเป็นโทนเดียวกัน Square: ชุดสีสี่เหลี่ยม คือชุดสีที่ประกอบด้วย 4 สี ซึ่งเทคนิคการเลือกสีคือใช้สี่เหลี่ยมด้านเท่ามาทาบลงบนวงล้อสี Tetradic: สีตรงกันข้ามข้างเคียงทั้งสองด้าน คือชุดสีที่มี 4 สี โดย 2 สีจะเป็นสีใกล็เคียง และอีกสองสีจะเป็นสีตรงข้ามใกล้เคียงของ 2 สี แรก หรือดูง่ายๆ ด้วยการใช้สี่เหลี่ยมผืนผ้าทาบลงบนวงล้อสี การปรับเอฟเฟกต์สีเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ Shade คือวิธีการผสมสีดําลงในสีนั้นๆ เพื่อให้สีดูเข้มขึ้นและมืดขึ้น Tint คือวิธีการผสมสีขาวลงในสีนั้นๆ เพื่อให้สีดูอ่อนลงและสว่างขึ้น Tones คือวิธีการเพิ่มสีเทากลางๆ ลงในสีนั้นๆ สีที่ได้จะมีความสดลดลง Monochrome คือการใช้สีเพียงสีเดียว แล้วปรับด้วย Shade Tint หรือ Tones เพื่อสร้างค่าชุดสีที่มีค่าน้ําหนักเข้ม และอ่อนได้ NoBrand